วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps

ทำแผนที่ไปบ้านตัวเองง่ายๆ ผ่าน Google Maps

1. ต้องบอกก่อนว่าบ้านเราอยู่แถวไหน โดยสมมุติว่า ซอย 12 ซอยหมู่บ้านเจริญสุข ถนนรัชดาภิเษก 18 ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
2. จากนั้นเข้าไปที่ http://maps.google.co.th/
3. กรอกชื่อถนน กับเขต และจังหวัดลงไปก่อนก็จะได้ข้อมูลดังภาพ

4. จากนั้นให้คุณคลิ๊กเลือกไปที่ "เส้นทาง" ที่อยู่ในเมนูด้านขวามือ

5. ที่นี้เมนูด้านซ้ายมือก็จะเปลี่ยนไปเป็นการแสดงเส้นทางจาก A ไป B โดย A คือ ต้นทาง และ B เป็นปลายทาง ซึ่งข้อมูลที่กรอกตอนแรกนั้นจะเป็นปลายทาง ส่วนข้อมูลใน A จะว่างไว้ แต่จะมาแสดงผลที่ในรูปแผนที่สีแดง แทน


6. ต่อไปก็ต้องสร้างรูป B ซึ่งเป็นปลายทางในแผนที่ขึ้นมา โดยการก็อบปีข้อมูลที่อยู่ใน B ไปใส่ไว้ใน A
7. ทีนี้แผนที่จะเปลี่ยนสเกลให้ละเอียดขึ้น จะเห็นรูป B ที่เป็นสีเขียวขึ้นมาแทน ซึ่งจริงๆ แล้ว ณ ตอนนี้จะมีรูป B กับรูป A ทับซ้อนกันอยู่


8. ให้คุณปรับสเกลที่อยู่ด้านซ้ายมือใหม่ ให้หยาบขึ้นโดยการเลื่อนกดเครื่องหมาย - จนได้ขนาดเดียวกับตอนแรกหรือขนาดที่คุณจะเห็นบ้านคุณอยู่ในแผนที่ได้


9. เลื่อนจุด B ไปยังปลายทางซึ่งในที่นี้คือ ซอย 12 ซอยหมู่บ้านเจริญสุข ถนนรัชดาภิเษก 18 ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

10. แล้วเลื่อนจุด A ไปอยู่ตรงปากซอยรัชดาภิเษกซอย 18

จากนั้นคุณกับแต่งภาพให้ดูเหมาะสมเสียหน่อย เท่านี้คุณก็ได้แผนที่จากถนนใหญ่เข้าไปถึงบ้านคุณแล้ว พร้อมในแผนที่ยังบอกเส้นทางและระยะทางอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

กาเพิ่มข้อมูลภูมิสารสนเทศด้วย ArcGIS
1 เปิดเบราเซอร์แล้วเข้า http://maps.google.com แล้วเลือกพื้นที่บริเวณที่ต้องการ
2 ใช้เครื่องมือ Print screen แล้วให้โปรแกรม photoshop หรือ paint ตัดพื้นที่เฉพราะพื้นที่ข้อมูลที่ต้องการดังภาพ

3 บันทึกภาพเป็นไฟล์ TIFF
4 เปิดโปรแกรม ArcMap เพิ่มข้อมูลภาพเข้าไปใน ArcMap
5 ในการกำหนดพิกัดให้กับภาพข้อมูลดาวเทียมที่นำเข้ามานั้น สามารถใช้โปรแกรมประมวลข้อมูลเชิงเลข เช่น ENVI หรือ Erdas หรือถ้าต้องการใช้ให้เป็นแค่แผนที่ฐานในการสร้างข้อมูล Vector สามารถใช้โปรแกรม ArcMap ในการกำหนดพิกัดได้
6 คลิกขวาที่ Toolbar > Georeferencing จะปรากฏเครื่องมือ Georeferencing ขึ้นมา
7 เพื่อให้ได้พิกัดที่ใช้ในการกำหนดพิกัด เราสามารถใช้เว็บไซต์ในการดูค่าพิกัด ได้แก่ http://www.gorissen.info/Pierre/maps/googleMapLocation.php และเว็บไซต์ที่ใช้ในการแปลงค่าพิกัดให้เป็นระบบ UTM เพื่อให้ได้ภาพข้อมูลที่มีพิกัดเป็นหน่วยเมตร ได้แก่http://home.hiwaay.net~taylorc/toolbox/geography/geoutm.html
8 เลือกเครื่องมือ Add Control Points เพื่อเพิ่มภาพข้อมูล คลิกที่จุดที่ต้องการเพิ่มเป็นจุดควบคุมให้แม่นยำ
9 นำข้อมูลพิกัดในเว็บhttp://www.gorissen.info/Pierre/maps/googleMapLocation.php มาแปลค่าเป็น Zone 47 and hemisphere N แล้วนำค่าไปใส่ในค่า X,Y ในจุดควบคุมพิกัดใน ArxMap หาจุดควบคุยอย่างน้อง 4 จุดเพื่อความถูกต้อง จากนั้นให้เลือก Georeferecing > Updata Georeferecing
10 ภาพข้อมูลที่ได้นั้นพร้อมที่จะใช้ในการนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์ได้
11 เปิดโปรแกรม ArcCatalog คลิกขวาบริเวณที่ว่างเลือก New > Shapefile… แล้วสร้างชั้นข้อมูลใหม่เป็น Point , Polyline , Polygon กำหนดชื่อใหม่ตามความต้องการ และเพิ่มชั้นข้อมูลที่สร้างใหม่ลงใน ArcMap
12 ไปที่แถบเครื่องมือให้เลือก Editor > Start Editing เมื่อต้องการเพิ่มข้อมูลให้ตรวจสอบ Target ให้ถูกต้องในกรณีที่มีหลายชั้นข้อมูลเปิดอยู่
13 ทำการ digitize ภาพข้อมูล พื้นที่เป็น Polygon ถนนเป็น Polyline หมู่บ้านให้เป็น Point

ข้อมูลภาพเมื่อทำการ Digitize เสร็จแล้ว


รูปแบบรายงาน

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษา SQL (Standard Query Language)


ภาษา SQL (Standard Query Language)
9.1 ภาษา Standard relational database Query Language (SQL)
ภาษาที่กลายเป็นภาษามาตรฐานสำ หรับระบบฐานข้อมูลคือ ภาษา Standard relational database
Query Language หรือเอสคิวแอล (SQL) หรือซีควอล (SE-QUEL) ซึ่งเป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท
ไอบีเอ็ม ภาษา SQL (Standard Query Language) เป็นส่วนหนึ่งของระบบฐานข้อมูลแบบรีเลชั่นเนล
(Relational Database) ที่ได้รับความนิยมมากเพราะง่ายต่อความเข้าใจ และอยู่ในรูปภาษาอังกฤษ ภาษา
SQL แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1 ภาษาที่ใช้สำ หรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language-DDL)
2 ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language: DML)
• ภาษาควบคุม (Control Language)
• ภาษาในการเลือกข้อมูล (Data Query Language)
รูปแบบการใช้คำ สั่ง SQL สามารถใช้ได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ คือ
• คำ สั่ง SQL ที่ใช้เรียกดูข้อมูลได้ทันที (Interactive SQL)
เป็นการเรียกใช้คำ สั่ง SQL สั่งงานบนจอภาพ เพื่อเรียกดูข้อมูลในขณะที่ทำ งานได้ทันที เช่น
SELECT CITY
FROM SUPPLIER
WHERE SNO = ‘SE’;
• คำ สั่ง SQL ที่ใช้เขียนร่วมกันโปรแกรมอื่น ๆ (Embedded SQL)
เป็นคำ สั่ง SQL ที่ใช้ร่วมกับคำ สั่งของโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น PL/1 PASCAL ฯลฯ หรือแม้
แต่กับคำ สั่งในโปรแกรมที่ระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นมีใช้เฉพาะ เช่น ORACLE มี PL/SQL (Procedural
Language /SQL) ที่สามารถเขียนโปรแกรมและนำ คำ สั่ง SQL มาเขียนร่วมด้วย เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้คำ สั่ง SQL ในภาษา PL/1
EXEC SQL SELECT CITY
INTO :XCITY
FROM SUPPLIER
WHERE SNO = ‘S4’;
9.2 ภาษาที่ใช้สำ หรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language-DDL )
Data Definition Language (DDL) เป็นภาษาที่ใช้นิยามโครงสร้างข้อมูล เพื่อเปลี่ยนแปลง หรือ
ยกเลิกโครงสร้างฐานข้อมูลตามที่ออกแบบไว้ โครงสร้างดังกล่าวคือ สคีมา (Schema) นั้นเอง ตัวอย่างเช่น
การกำหนดให้ฐานข้อมูลประกอบด้วยตารางอะไรบ้าง ชื่ออะไร ประเภทใด มี อินเด็กซ์ (Index)






ภาษา DDLประกอบด้วย 3 คำ สั่งคือ
• คำ สั่งการสร้าง (Create) ได้แก่ การสร้างตารางและอินเด็กซ์
CREATE TABLE
( Attribute 1 Type 1,Attribute 2 Type 2 ,)
CREATE Unique Index on X

เช่น
CREATE TABLE S11
(SNO CHAR(5) Not NULL,SNAME CHAR(10) ,STATUS integer)
CREATE Unique Index XS11 on S11(SNO)
• คำ สั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ALTER TABLE < ชื่อตารางที่ตั้งขึ้น >
<คำ สั่งการเปลี่ยนแปลง> (<ชื่อคอลัมน์ ประเภทข้อมูล>);
ตัวอย่างเช่น
ALTER TABLE SUPPLIER
ADD (LAST_SNAME Char(10));
• คำ สั่งยกเลิก (Drop) ต่างๆ
การลบโครงสร้างตาราง
DROP TABLE < ชื่อตารางที่ตั้งขึ้น >
ภาษาดังกล่าวคือ ภาษาที่ใช้สร้างฐานข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ หลังจากที่เราได้ออกแบบแล้วว่า
ฐานข้อมูลมีกี่รีเลชั่น แต่ละรีเลชั่นมีความสัมพันธ์อย่างไร จากนั้นการใช้ภาษา DDL นี้แปลงรีเลชั่น
ต่างๆ ให้อยู่ในรูปภาษาสำ หรับนิยามข้อมูล เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่แท้จริง
ให้เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ ภาษา DDL สามารถสรุปคำ สั่งต่างๆได้ดังตอไปนี้
ขึ้นในคอมพิวเตอร์ ภาษา DDL สามารถสรุปคำ สั่งต่างๆได้ดังตอไปนี้
คำ สั่ง ความหมาย
CREATE TABLE นิยามโครงสร้างข้อมูลในรูปตารางบนฐานข้อมูล
DROP TABLE ลบโครงสร้างตารางข้อมูลออกจากระบบ
ALTER TABLE แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างตาราง
บทที่ 8 พีชคณิตเชิงสัมพันธ์และแคลคูลัสเชิงสัมพันธ์ 8 - 3
คำ สั่ง ความหมาย
CREATE INDEX สร้างดัชนีของตาราง
DROP INDEX ลบ ดัชนีของตารางออกจากระบบ
CREATE VIEW กำหนดโครงสร้างวิวของผู้ใช้
DROP VIEW ลบโครงสร้างวิวออกจากระบบ
การสร้างดัชนีจะใช้คำ สั่ง CREATE INDEX แล้วตามด้วยชื่อดัชนีที่เราตั้งขึ้น ดังรูปแบบต่อไปนี้
CREATE [UNIQUE] INDEX < ชื่อตารางที่ตั้งขึ้น >
ON (<ชื่อตารางที่สร้างดัชนี> (< ชื่อคอลัมน์ 1> [,< ชื่อคอลัมน์ 2>]…);
การลบดัชนี
เมื่อต้องการลบดัชนีที่สร้างขึ้น ก็สามารถทำ ได้ด้วยคำ สั่ง DROP INDEX แล้วตามด้วย
ชื่อดัชนีที่ต้องการลบ ดังรูปแบบดังนี้
DROP INDEX <ชื่อดัชนี>
9.3 ภาษาสำ หรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language-DML)
หลังจากที่เราสร้างโครงสร้างฐานข้อมูลขึ้นแล้ว คำ สั่งต่อไปในการป้อนข้อมูลลงในฐานข้อมูล
และเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในฐานข้อมูล โดยการใช้ภาษาสำ หรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation
Language-DML) ใช้จัดการข้อมูลภายในตารางภายในฐานข้อมูล และภาษาแก้ไขเปลี่ยนแปลงตาราง
แบ่งออกเป็น 4 Statement คือ
• Select Statement : การเรียกหา (Retrieve) ข้อมูลจาก ฐานข้อมูล
• Insert Statement : การเพิ่มเติมข้อมูลลงใน ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล
• Delete Statement: การลบข้อมูลลงออกจาก ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล
• Update Statement: การเปลี่ยนแปลงข้อมูลลงใน ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล
คำสั่ง ความหมาย
SELECT เรียกค้นข้อมูลในตาราง
INSERT เพิ่มแถวข้อมูลลงในตาราง
DELETE ลบแถวข้อมูล
UPDATE ปรับปรุงแถวข้อมูลในตาราง
คำสั่งค้นหาข้อมูล (Query Statement)
คำ สั่ง SELECT เป็นคำ สั่งการเรียกดูข้อมูล หรือ ค้นข้อมูล ตามเงื่อนไขที่ระบุบ เนื่องจากคำ สั่ง
SELECT เป็นคำ สั่งที่มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายเพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อน ดังมีรูปแบบดังนี้
SELECT <ชื่อคอลัมน์ที่ต้องการดูข้อมูล>
FROM <ชื่อตาราง>
WHERE <เงื่อนไขตามที่ระบุบ>
SELECT --- เป็นคำ สั่งให้ทำ การเรียกดูข้อมูลในคอลัมน์ที่ระบุ ซึ่งอาจจะมากกว่า หนึ่งก็ได้ และถ้ามี
มากกว่าหนึ่งคอลัมน์ต้องคั่นด้วย คอมม่า (,) และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องหมาย
ดอกจัน (*) เพื่อแสดงถึงการขอดูข้อมูลทั้งหมดได้อีกด้วย
FROM --- เป็นคำ ส่วนประกอบของคำ สั่งที่บอกถึงตารางที่ต้องการดู ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งตารางก็
ได้ ที่จะถูกเรียกใช้จากคำ สั่ง SELECT
WHERE--- เป็นส่วนประกอบของคำ ส่ง ที่ใช้บ่งบอกเงื่อนไขที่จะใช้ในการค้นหาข้อมูล ขึ้นมาจากตา
รางใด ๆ ที่อยู่หลัง FROM นี้
การเรียกดูแบบซ้อนกัน (Nested SELECT Statement)
SELECT <ชื่อคอลัมน์>
FROM <ชื่อตาราง>
WHERE <ชื่อคอลัมน์> IN (LECT <ชื่อคอลัมน์>FROM <ชื่อตาราง>WHERE <ชื่อคอลัมน์> )

คำ สั่งเติมข้อมูล (Insert Statement)
INSERT INTO < ชื่อตาราง >
VALUES (< ชื่อคอลัมน์ 1> [,< ชื่อคอลัมน์ 2>]…);
คำ สั่งแก้ไขและลบแถว (Update Statement )
UPDATE < ชื่อตาราง >
SET <ค่าที่ต้องการ>
WHERE <เงื่อนไข>
9.4 ภาษาควบคุม (Control Language)
ใช้เป็นภาษาที่ใช้ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัย ของฐานข้อมูล ประกอบด้วยคำ สั่ง 2 คำ สั่งคือ
• คำ สั่ง GRANT เป็นคำ สั่งที่ใช้กำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้แต่ละคนให้มีสิทธิกระทำ การใดกับข้อมูลเช่น
การเพิ่มข้อมูล การแก้ไข หรือ การลบข้อมูลในตารางใดบ้าง
• คำ สั่ง REVOKE เป็นคำ สั่งให้มีการยกเลิกสิทธินั้นหลังจากที่ได้ GRANT แล้ว
หน้งสืออ้างอิง
1. ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน, การออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี :
นครราชสีมา, 2542.
2. ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำ นวย, ระบบฐานข้อมูล, พิมพ์ครั้งที่ 3, ดวงกลมสมัย : กรุงเทพฯ, 2542

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ลักษณะและรูปแบบของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) มีลักษณะ (Aspects) หรือส่วนที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะทางโครงสร้าง (Structural) ผู้ใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้ จะรับรู้ในลักษณะที่ว่าข้อมูลในฐานข้อมูล จะอยู่ในรูปตาราง (Tables) ต่างๆ
2. ลักษณะความถูกต้อง (Integrity Aspect) ตารางต่างๆ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องความถูกต้องของ ข้อมูล (Integrity Constraints)
3. ลักษณะด้านจัดดำเนินการ (Manipulative Aspect) ต้องมีตัวดำเนินการต่างๆ เตรียมไว้ให้แก่ผู้ใช้ในการสั่งกระทำการใดๆ กับตารางข้อมูล โดยจะมีตัวดำเนินการสำคัญ อยู่ 3 ตัว ได้แก่
1.1 Restrict Operation เป็นการดึงแถวข้อมูลเฉพาะบางแถวออกมาจากตาราง เช่น การใช้คำสั่ง Where (Condition)
1.2 Project Operation เป็นการดึงคอลัมน์ข้อมูลเฉพาะบางคอลัมน์ออกมาจากตาราง เช่น การใช้คำสั่ง Select (Column_Name)
1.3 Join Operation เป็นการเชื่อมตารางตั้งแต่ 2 ตารางขึ้นไปเข้าด้วยกันโดยมีค่าบางค่าในคอลัมน์ตรงกันเป็นหลัก
รีเลชั่นและเรลวาร์
รีเลชั่น (Relation) คือ คำเรียกตาราง (Table) ในเชิงคณิตศาสตร์ ระบบเชิงสัมพันธ์อาศัยตัวแบบเชิงสัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีข้อมูลแนวนามธรรม (Abstract theory of data) ตามหลักการของคณิตศาสตร์ผู้ที่ว่างรากฐานของตัวแบบสัมพันธ์ (1969-1970) คือ E.F. Codd ปัจจุบันแนวคิดของเขาเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล มีอิทธิพลต่อเทคโนโลยีฐานข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์อีกด้วย
เรลวาร์ (Relvar) ย่อมาจาก Relation Variables ซึ่งก็คือโครงสร้างของตารางนั่นเอง โดยคำว่า Variables หมายถึง ชื่อเขตข้อมูลหรือแอตทริบิวต์ (Attribute) ส่วนค่าหรือข้อมูลที่อยู่ในตารางแต่ละช่องนั้นเรียกว่า Relation Values
- โดเมน (Domain) หมายถึง สิ่งที่รวมค่าทั้งหมด (Pool of Values)
- คีย์หลัก (Primary Key) เป็นค่าที่ไม่ซ้ำกัน และใช้เป็นตัวกำหนดอื่นๆ
- ทูเพิล (Tuple) คือ แถวของข้อมูล ซึ่งในระบบแฟ้มข้อมูลเรียกว่า ระเบียน
- แอตทริบิวต์ (Attribute) คือ เขตข้อมูล คอลัมน์ หรือสดมภ์ของข้อมูล
- คาร์ดิแนลิตี้ (Cardinality) คือ จำนวนรวมของทูเพิลในแต่ละรีเลชั่น
- ดีกรี (Degree) คือ จำนวนรวมของสดมภ์ในแต่ละรีเลชั่น
คุณสมบัติของรีเลชั่น
รีเลชั่นหรือตาราง มีคุณสมบัติ 4 ประการ ดังนี้
1. ต้องไม่มี Tuple หรือแถวใดซ้ำกันกับแถวอื่น (There are no duplicate tuples) เนื่องจากรีเลชั่นเกิดจากการเอา Domain มาคูณกัน นอกจากนั้นข้อมูลในคีย์หลัก (Primary Key) จะต้องไม่ซ้ำ เช่น รหัสลูกค้าชื่อสมชาย ถึงแม้จะมี 3 คน แต่จะได้รหัสไม่ซ้ำกันเพราะเป็นคนละคนกัน
2. แต่ละแถวไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากบนลงล่าง (Tuples are unordered, top to bottom) กล่าวคือ ไม่มีความแตกต่างของการเรียงแถวหรือไม่เรียงแถว
3. แต่ละคอลัมน์ไม่จำเป็นต้องเรียงจากซ้ายไปขวา (Attributes are unordered, Left to right) เพราะ T1,T2,T3 = T2,T1,T3
4. แต่ละแถวต้องมีค่าเดียวในแต่ละคอลัมน์ (Each tuple contains exactly one value for each attribute) กล่าวคือ ต้องเป็น Atomic คือ ต้องมีค่าเดียว ต้องไม่เป็นเซตของค่าหลายค่า เช่น แยกชื่อ นามสกุลออกจากัน
ซึ่งคุณสมบัติข้อสุดท้ายนี้ทำให้ข้อมูลในตารางมีความเป็นปรกติหรืออยู่ใน บรรทัดฐาน (Normalized) ซึ่งเทียบเท่ากับว่าอยู่ใน รูปแบบปกติหรือรูปแบบบรรทัดฐานขั้นที่ 1 (First Normal Form)

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รูปแบบฐานข้อมูล

รูปแบบของฐานข้อมูล

1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (The Hierarchical Database Model)
มีลักษณะเป็นแผนภูมิต้นไม้ (Tree) ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อกับลูก (Parent/Child Relation) ลูกค้าแต่ละคนจะไม่สามารถได้รับบริการจากพนักงานขายมากกว่าหนึ่งคนได้ สินค้าแต่ละชนิดก็จะถูกซื้อ โดยลูกค้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ลักษณะของฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one) และหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many) แต่ไม่มีความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many)

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (The Network Database Model)
โดยโครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายก็เป็น Tree เช่นเดียวกับฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่จะเป็น Tree ที่ดูซับซ้อนมากขึ้นเพื่อรองรับความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มนั่นเอง

3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (The Relational Database Model)
ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้นเป็นตารางซึ่งเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้

4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (The Object-Oriented Database Model)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ล้วนจัดเก็บเฉพาะข้อมูล ไว้ในฐานข้อมูล ส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินการกับฐานข้อมูลจะจัดเก็บไว้ในซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลแยกต่างหาก แต่ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีการนำมาใช้งานน้อยกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า

5. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์ (The Object-Relational Database Model)
สร้างขึ้นเพื่อให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถเพิ่มคุณสมบัติของแบบจำลองเชิงวัตถุเข้าไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในด้านการออกแบบข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างชนิดข้อมูลที่กำหนดเองได้

6. คลังข้อมูล (Data Warehouse)
เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของทั้งองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องมีการแบ่งส่วนการทำงานออกเป็นส่วนย่อยๆ ขึ้นอยู่กับหน้าที่การทำงาน เช่น การแบ่งส่วนออกเป็นการผลิต การเงิน การตลาด การขาย การบัญชี และการบริหารงานบุคคล เป็นต้น ซึ่งในบางกรณีต้องทำสำเนาข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องใช้งานของแต่ละส่วนมาจัดเก็บไว้ภายในส่วนการทำงานย่อยๆ เหล่านั้น